วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เพิ่มเติม

สาวัตถี (Sravastl) หรือที่ยาวอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า  สะเหต มะเหต (Saheth – Maheth) เป็นที่หนึ่งในบรรดาเมืองที่สำคัญที่สุดในมัยพุทธกาล  และเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอย่างยาวนานที่สุดถึง ๒๕ พรรษา (๑๙ พรรษาที่เชตะวันมหาวิหาร  และ ๖ พรรษาที่         วัดบุพพาราม)
                เมืองสาวัตถีในทุกวันนี้ยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญเมื่อสมัยพุทธกาลปรากฏอยู่ เช่น ซากคฤหาสน์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  สถานที่ที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ  ซากยมกปาฏิหาริย์สถูปและเชตะวันมหาวิหาร  (พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องมงคล ๓๘ ประการประทานพระอานนท์  และยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนามาสร้างไว้อีกหลายวัด
                เชตะวันมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือ แม่น้ำอจิรวดี นอกกำแพงมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลกเมตร ถือเป็นพระอารามที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยพุทธกาล  เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอย่างยาวนานถึง ๑๙ พรรษา
                แต่เดิมเมื่ออนาถบัณฑิกเศรษฐีมองหาสถานที่ที่จะสร้างพระอารามเพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่เมืองสาวัตถี  ได้พบสวนของเจ้าเชตซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมจึงขอเจรจาซื้อ แต่เจ้าเชตไม่อยากขาย  จึงโก่งราคาด้วยการขอให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีนำกหาปณะ (มาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่า ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท) มาปูให้เต็มพื้นที่ จึงจะเท่ากับราคาของสวนนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงสั่งให้บริวารขนกหาปณะจากคลังมาปูที่พื้นทันที เมื่อปูได้ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ซึ่งทำให้หมดเงินไปจำนวน ๑๘ โกฏิ (๑ โกฏิ เท่ากับ ๑๐ ล้าน) เจ้าเชตจึงสั่งให้หยุดพร้อมกับบอกขายสวนด้วยราคาเท่านี้ ส่วนที่เหลือ เจ้าเชตจะขอมีส่วนด้วย ทั้งสองจึงร่วมกันสร้างพระอารามแห่งนี้จนสำเร็จและตั้งชื่อว่า เชตะวัน ซึ่งมีความหมายว่า สวนของเจ้าเชต เพื่อเป็นอนุสรณ์แต่เจ้าของสวน
                ปัจจุบันเชตะวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน  ที่ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี  จึงทำให้มีผู้เดินทางมาจาริกแสวงบุญเป็นประจำ  ซึ่งสถานที่สำคัญที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปนมัสการ ได้แก่ มูลคันธกุฎี หรือสถานที่ประทับจำพรรษาของพระพระพุทธเจ้า อานันทโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล หมู่กุฏิพระสาวก เช่น กุฏิพระสารีบุตร พระอานนท์ พระองคุลิมาล และ พระสีวลี เป็นต้น
                พระอานนท์เถระ  เป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่งในอสีติมหาสาวก  ท่านเป็นพระโอรสในพระเจ้าสุกโกทนะและพระนางสีกาโคตรมี  ได้เสด็จออกผนวชตามพระพุทธเจ้าพร้อมกับเจ้าชายศากยะทั้หลาย หลังจากท่านอุปสมบทแล้วได้ฟังโอวาทที่พระปุณณมันตานีปุตรเถระกล่าวสอน จึงสำเร็จพระโสดาปัตติผล และได้สำเร็จพระอรหัตผลหลังพุทธปรินิพานก่อนการทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก
                พระอานนท์ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผูอุปัฏฐากประจำองค์พระพุทธเจ้าแต่ก่อนที่ท่านจะรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐากนั้นได้ทูลขอพร ๘ ประการจากพระพุทธเจ้า ดังต่อไปนี้
๑.      อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒.    อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓.     อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔.     อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕.     ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับเขาไว้
๖.      ขอให้ข้าพระองค์ได้พาพุทธบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเข้าเฝ้าพระองค์ในขณะที่มาได้ทันที
๗.     ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้าทูลถามพระองค์ได้เมื่อนั้น
๘.     ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์  ขอพระองค์มาตรัสบอกธรรมเทศนารื่องนั้นแกข้าพระองค์
พระอานนท์ที่ได้เป็นผู้อุปัฏฐากประจำพระพุทธองค์ตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา  ท่านเป็นผู้มี
สติปัญญาทรงจำพระธรรมวินัยได้ดี  เฝ้าอุปัฏฐากโดยเอื้อเฟื้อและมีความจงรักภักดีในพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง

ความซื่อสัตย์

"...คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒

"...ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๓๑

"...ผู้ที่ทีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้ แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..."

                                                                                                               ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะคณาจารย์โรงเรียนต่างๆ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓

"...การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย..."
                                                                                                             ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙

"...ทุกคนในชาติมีหน้าที่ของตัว และถ้า แต่ละคนทำให้ได้อย่างเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ประเทศชาติก็ย่อมต้องปลอดภัย และก้าวหน้าไปอย่างดี..."

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมประชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓

"...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว จะต้องอาศัยความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘

"...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐

"...เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๓

"...การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙

"...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."

ความตอนหนึ่ง ในพระราดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

"...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒

"...คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต...